วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สวนผักในบ้าน' ทั้งประหยัด-ปลอดภัย

สวนผักในบ้าน' ทั้งประหยัด-ปลอดภัย



    ก่อนที่ คนไทยจะหันมาให้ความสนใจกับทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ช่วงหนึ่งรัฐบาลเคยมีโครงการรณรงค์ผักสวนครัวรั้วกินได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปนอกจากจะไม่มีผักริมรั้วแล้ว ลัทธิบริโภคนิยมที่มีความสะดวกสบายนำหน้า ดูเหมือนจะทำให้ครัวของหลายบ้านมีไมโครเวฟเป็นอุปกรณ์หลักเพื่อใช้ในการอุ่น อาหารเท่านั้น    


          แต่ ใช่ว่าเรื่องการปลูกผักสวนครัวไว้ในเขตเคหสถานจะจบลง เพราะขณะที่ใครต่อใครต่างพากันซื้อผักจากตลาดบ้าง รถเร่บ้าง หรือซูเปอร์มาร์เกตบ้าง คนบางกลุ่มกลับมีวิถีชีวิตที่แตกต่างออกไป 
          พวก เขามีความสุขกับการค่อยๆ หว่านเมล็ดพันธุ์ลงในดินที่ถูกปรับให้เป็นแปลงผักในรั้วบ้าน เฝ้าดูต้นกล้าที่กำลังเติบโตอยู่ในภาชนะที่ไม่ใช่กระถางต้นไม้ เพราะมีทั้งถังแตกที่ไม่สามารถใช้บรรจุน้ำได้แล้ว ตะกร้าที่เคยใช้ใส่เส้นขนมจีนมาส่งขายที่ตลาด ไปจนถึงยางนอกรถยนต์หมดอายุการใช้งานที่ถูกปาดด้านหนึ่งออก 
  
           “แต่ก่อนผมก็ไม่เคยปลูกต้นไม้ พอมาเรียนที่คณะเกษตรกรรมยั่งยืน ม.ธรรมศาสตร์ และได้ไปฝึกงานที่ออสเตรีย ประเทศทำการเกษตรแบบดั้งเดิมคือเกษตรอินทรีย์ถึงร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นประเทศที่มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์มากที่สุดในยุโรป จึงทำให้เกิดแรงบันดาลใจให้กลับมาปลูกผักสวนครัวในบ้านบ้าง” นคร ลิมปคุปตถาวร หนึ่งในสมาชิกเครือข่ายตลาดสีเขียว บอกเล่า  



แรง บันดาลใจที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น ทำให้เขากลับมาเปลี่ยนแปลงพื้นที่สวนด้านหนึ่งของบ้านให้เป็นแปลงปลูกผักสวน ครัว ซึ่งกว่าจะกลายเป็นสวนครัวอย่างที่เปิดให้ผู้ที่สนใจเยี่ยมชมอย่างทุกวันนี้ ต้องผ่านการเรียนรู้มากมาย ตั้งแต่เรื่องสภาพของดินที่เหมาะสมกับพืชผักสวนครัว ปริมาณน้ำ และที่สำคัญคือการคัดเลือกชนิดพันธุ์ที่จะนำมาปลูก 


           “การปลูกผักสวนครัวต้องถามใจตัวเองก่อนว่าอยากกินอะไร เราพร้อมที่จะกินผักบุ้ง 5 วันหรือ 10 วันติดต่อกันได้หรือไม่ และ เรามีความคิดใหม่ๆ ในการทำกับข้าวบ้างไหม” เจ้าของสวนครัวขนาดย่อมในบ้านย่านลาดพร้าวที่เพียงพอเลี้ยงคนในบ้านในระดับ หนึ่งให้คำแนะนำ  
          นอกจากนี้การปลูกผักสวนครัวไว้ภายในบ้านนั้น ไม่ใช่แค่การออกไปร้านจำหน่ายต้นไม้แล้วซื้อดินแบบ 6 ถุง 100 บาทมาใส่กระถางหรือภาชนะง่ายๆ ก็ปลูกได้ทันที เพราะดินเหล่านั้นเหมาะสำหรับการปลูกไม้ดอกไม้ประดับมากกว่า ขณะที่ผักสวนครัวต้องการความร่วนซุยของดิน ให้ดินมีช่องว่างสำหรับอากาศถ่ายเท และที่สำคัญที่สุดคือธาตุอาหารที่อยู่ในดิน   



 
           ปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ และดินชีวภาพที่ผ่านการหมักจนได้ที่ เป็นสภาพดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกผักสวนครัวมากกว่า เพราะหากใช้ปุ๋ยเคมีผักสวนครัวที่ปลูกเองในรั้วบ้าน ก็คงไม่ต่างจากผักที่ปลูกเพื่อการพาณิชย์จำนวนมากๆ



“การ ปลูกผักในบ้านจะมีปัญหาเรื่องพื้นที่ โดยเฉพาะทาวน์เฮาส์หรือคอนโดมิเนียม แต่ทาวน์เฮาส์บางแห่งก็สามารถปลูกต้นไม้ได้เยอะกว่าบ้านเดี่ยวด้วยซ้ำ หากเปลี่ยนมาเป็นปลูกผักสวนครัวแทนนอกจากจะได้สีเขียวเหมือนกันแล้วยัง สามารถนำมาบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงในการบริโภคสารเคมีได้ด้วย"

ดร.วิชัย จันทร์กิติวัฒน์ ตัวแทนกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ระบุ  



          ขณะที่ชาวตะวันตกเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษ คนไทยกลับหลงใหลได้ปลื้มกับอาหารขยะที่เรียกกันว่า “จังก์ฟู้ด” ซึ่งล้วนแต่เป็นอาหารที่นำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บมากมาย จนหลงลืมรากเหง้าแห่งวิถีไทยที่เคยมีมา


ที่มา:หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
www.จีพีเอสวัดที่.com
_______________________________________________________________________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น