วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การทำนาข้าวเกษตรอินทรีย์

การทำนาข้าวเกษตรอินทรีย์



การทำนาข้าวอินทรีย์  เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการเกษตรทฤษฎีใหม่โดยยึดปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ข้าวสำหรับการบริโภคอย่างปลอดภัย ไร้สารพิษ รักษาสุขภาพ 
และสิ่งแวดล้อม ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากหรือมี โรคน้อยที่สุด 



ขั้นตอนการทำนาข้าวอินทรีย์ 

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมพันธุ์ข้าว การคัดเลือกพันธุ์ข้าว 
1. คัดเลือกพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น ข้าวพันธุ์ ก.ข.6 จะชอบพื้นที่ในลุ่มมีน้ำขังตลอด ตั้งแต่ปักดำจนถึงออกรวงและมีแป้ง จึงจะปล่อยน้ำออกจากคันนาได้และได้ผลผลิตดีแต่ถ้าเป็นข้าวหอมมะลิจะขึ้นได้ ดีในทุกพื้นที่ แต่ต้องให้มีน้ำขัง เนื่องจากการทำนาสิ่งสำคัญ คือ ต้องมีน้ำ

2. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว คัดเลือกแปลงข้าวที่มีต้นข้าว รวงข้าว เมล็ดข้าวที่โตแข็งแรง เมล็ดข้าวแก่จัดเมล็ดข้าวมีความสมบูรณ์ ถอนออกเป็นรวง ๆ ที่สมบูรณ์ที่สุด เก็บไว้ต่างหาก แล้วนำมาแยกเมล็ดข้าวและฟางข้าวออกจากกัน จากนั้นนำเมล็ดมาฝัด เมื่อคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ออก แล้วนำเมล็ดข้าว ที่คัดเลือกว่าดีแล้วตากแห้ง แล้วเก็บไว้ ทำพันธุ์ในปีต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมพื้นที่ทำนา 1. การเตรียมคูคันนา การทำนาจะต้องเตรียมคูคันนาให้มีความสูงประมาณ 50-70 เซนติเมตร ความหนา 60-80 เซนติเมตร เพื่อกักเก็บน้ำ เพราะข้าวจะขาดน้ำไม่ได้ ถ้าไม่มีน้ำขังจะเกิดวัชพืชในน้ำข้าว ทำให้ข้าวเจริญเติบโตช้าเสียเวลาในการกำจัดวัชพืช คันนาควรใส่ท่อระบายน้ำเพราะถ้าช่วงแรกในการปักดำไม่ควรให้ระดับน้ำสูง มากกว่า 10 เซนติเมตร เพราะต้นข้าวยังไม่แข็งแรงพอ ถ้ามีน้ำในแปลงนามาก จะทำให้ต้นข้าวเน่าได้ ควรมีท่อระบายน้ำออก

2.ปรับพื้นที่ในคันนาให้มีระดับเท่ากัน อย่าให้มีน้ำเอียงด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อจะได้ขังน้ำอยู่ระดับเดียวกัน ถ้าหากพื้นที่นามีความลุ่ม มีระดับพื้นที่ในระดับเดียวกัน ก็ไม่มีความจำเป็นในการปรับพื้นที่

ขั้นตอนที่ 3 หลัง จากฤดูกาลเก็บเกี่ยวเสร็จ พื้นที่นายังมีฟางข้าว มีหญ้า ควรนำปุ๋ยหมัก จุลินทรีย์ หว่านทั่วไป โดยคิดเฉลี่ย 200 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่ แล้วฉีดพ่นด้วยน้ำยาจุลินทรีย์ให้ทั่ว แล้วไถกลบฟางข้าว จุลินทรีย์จะช่วยย่อยสลายฟางข้าว ให้เน่าเปื่อย ทำให้ดินร่วนซุย เป็นอาหารของข้าวต่อไป สำหรับขั้นตอนนี้ควรทำในช่วงเดือนธันวาคม เพราะในช่วงนี้เป็นหน้าหนาว มีหมอกลงเหมาะในการขยายตัวของเชื้อจุลินทรีย์

ขั้นตอนที่ 4 นำ น้ำจุลินทรีย์มาหมักเมล็ดข้าว โดยให้น้ำจุลินทรีย์ ท่วมเมล็ดข้าว หากมีเมล็ดข้าวฟูน้ำ ให้เก็บออกให้หมด ควรแช่เมล็ดข้าวประมาณ 2-3 วัน แล้วนำขึ้นจากน้ำมาพักไว้ สัก 1 วัน แล้วนำมาหว่านในแปลงที่เตรียมไว้
ขั้นตอนที่ 5 การเตรียมพื้นที่สำหรับเพาะข้าว 
พอถึงฤดูการทำนา ถ้าหากปีไหนฝนดี คือ ฝนตกในช่วงเดือนมิถุนายน ควรเตรียมพื้นที่สำหรับกล้าพันธุ์ข้าว คือ เตรียมแปลงสำหรับเพาะพันธุ์ข้าว ซึ่งมีหลักพิจารณาดังนี้
1. ที่ดินร่วนซุย
2. อยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น สระน้ำ หนองน้ำ ถ้าหากฝนทิ้งช่วง จะได้อาศัยน้ำจากแหล่งน้ำได้

วิธีเตรียมแปลงเพาะกล้าพันธุ์ข้าว 
1. ที่มีน้ำขังพอที่จะหว่านกล้า เราก็ไถและคราดดินให้ร่วนซุย และระดับพื้นเสมอกัน ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วนำเมล็ดข้าวที่เตรียมไว้มาหว่าน อย่าให้หนาหรือห่างจนเกินไป
2. ประมาณ 10-15 วัน ต้นกล้าตั้งหน่อได้แข็ง นำน้ำจุลินทรีย์ ผสมน้ำพ่นต้นกล้าโดยผสมน้ำจุลินทรีย์ 3 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วแปลงกล้า
3. ขังน้ำใส่ต้นกล้า อย่าให้ขาดจากแปลงกล้า
4. ก่อนจะถอนกล้า 5 วัน ให้น้ำจุลินทรีย์พ่นอีก เพื่อจะได้ถอนง่าย เพราะรากจะฟู

ขั้นตอนที่ 6 การปักดำ 

ในช่วงก่อนการปักดำ เราควรขังน้ำไว้ในนา เพื่อจะทำให้ดินนิ่ม ดินไม่แข็ง ง่ายในการไถดำ เราควรจะกักน้ำเอาไว้
1. พอถึงเวลาดำนา เราควรปล่อยน้ำที่ขังออกจากคันนา ให้เหลือไว้ประมาณ 10-15 เซนติเมตร อย่าให้น้ำมากหรือน้อยจนเกินไป ถ้าน้ำมากจะทำให้ข้าวเปื่อย ถ้าน้ำน้อย หากฝนขาดช่วงจะทำให้ข้าวขาดน้ำ เพราะการทำนายังอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติจึ่งเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน
2. ไถน้ำและคราดที่นาให้ดินร่วนซุย และนำต้นกล้ามาปักดำ ซึ่งกำหนดความห่างระหว่างต้นให้ห่างประมาณ 40 เซนติเมตร เพื่อให้แตกกอได้ดีและใส่ต้นกล้า กอละประมาณ 2-3 ต้นกล้า
3. เมื่อปักดำประมาณ 15 วัน นำจุลินทรีย์ไปผสมน้ำพ่นต้นข้าวในนา เพื่อกระตุ้นเชื้อจุลินทรีย์ที่หว่านตอนเตรียมดิน และจะทำให้ต้นข้าวแข็งแรงเติบโต และทนต่อศัตรูข้าว
4. คอยหมั่นดูแลต้นข้าว และดูแลระดับน้ำอย่าให้ขาดในนาข้าว หมั่นรักษาไม่ให้วัชพืชขึ้นในนาข้าว และพ่นจุลินทรีย์ในทุก ๆ 20 วัน จนถึงข้าวตั้งท้องแล้วจึงงดการพ่นจุลินทรีย์ แต่ยังคงรักษาระดับน้ำในคันนาอย่าให้ขาด
5. พอข้าวแก่พอสมควรก็ปล่อยน้ำจากคันนา และเตรียมเก็บเกี่ยวต่อไป


ประโยชน์การทำนาข้าวอินทรีย์ 
1. ช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตมากขึ้น เพราะการให้ปุ๋ยจุลินทรีย์จะทำได้ผลผลิต 800 กิโลกรัมต่อไร่ โดยต้นทุนในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพียงแค่ประมาณ 200 บาท ต่อไร่ โดยอาจจะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากในตอนแรก แต่จะค่อย ๆ ลดลงเมื่อสภาพดินดีแล้ว ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีจะได้ผลผลิตประมาณ 400 กิโลกรัมต่อไร่ โดยต้นทุนการผลิตประมาณ 400 บาท ต่อไร่ และต้องเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้นในทุก ๆ ปี
2. ได้สภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์กลับคืนมา ดินร่วนซุย รากข้าวชอนไชหาอาหารง่าย กบ กุ้ง ปลา ชุกชุม มีสุขภาพชีวิตที่ดี มีอาหารปลอดสารพิษไว้บริโภค

www.จีพีเอสวัดที่.com
-------------------------------------------------------------------------------

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เกษตรอินทรีย์น่ารู้

เกษตรอินทรีย์น่ารู้


     ถ้ากล่าวถึงเกษตรอินทรีย์ มักหมายถึงระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม รักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติและหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ ผลผลิตที่ได้จึงปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ทำให้ปลอดภัยต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมถึงไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม


เกษตรอินทรีย์ดีอย่างไร

การเกษตรสมัยใหม่ที่พึ่งพาสารเคมีสังเคราะห์อย่างไม่เข้าใจ ก่อให้เกิดปัญหาทั้งต่อสุขภาพของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม จากรายงานสำรวจขององค์กรการอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติเมื่อปี 2554 พบว่ามูลค่าการนำเข้ายาฆ่าแมลงของประเทศไทยอยู่ที่สองหมื่นล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ถึงกว่าห้าพันล้านบาท(เพิ่มขี้นถึง 25%) นี้ยังไม่นับรวมไปถึงสารเคมีสังเคราะห์อาทิเช่นฮอร์โมนและปุ๋ยเคมี
ในด้านการใช้ปุ๋ยเคมี จากการศึกษาติดตามคุณภาพของดินหลังจากการใช้ปุ๋ยเคมี พบว่าคุณภาพทางกายภาพของดินแย่ลง และก่อให้เกิดความไม่สมดุลของแร่ธาตุในดิน ซึ่งจุดนี้ทำให้สามารถอธิบายได้ถึงความต้องการปุ๋ยในปริมาณที่มากขึ้นในทุกๆปีเช่นเดียวกัน
การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นของสารเคมีสังเคราะห์ทำให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่มีผลทางตรงกับผู้บริโภคในด้านความปลอดภัยของอาหาร แต่ยังมีผลกระทบทางอ้อมซึ่งมาจากการทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้เกิดความพยายามในการหาทางเลือกที่คำนึงถึงทั้งสุขภาพของผู้บริโภคและรักษาสมดุลธรรมชาติ จึงเป็นที่มาของเกษตรอินทรีย์ซึ่งมีจุดมุ่งหมายหลักคือการรักษาสมดุลการผลิตและระบบนิเวศ
แนวทางปฎิบัติของเกษตรอินทรีย์ในการผลิต จะคำนึงถึง

1. สุขภาพดิน

การปลูกพืชหมุนเวียน การใช้ปุ๋ยหมักและการปลูกพืชบำรุงดิน เป็นวิธีการในการรักษาสภาพโครงสร้างของดินและชดเชยแร่ธาตุในส่วนที่พืชนำไปใช้ในการเจริญเติบโต อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดความสมดุลของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์
โครงสร้างของดินมีความสำคัญต่อความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน โดยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบว่าปุ๋ยเคมี มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของดินและความเป็นกรดด่างของดิน ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของดิน และสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ การใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวจะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของดินในระยะยาว

2. สุขภาพแหล่งน้ำ

การปนเปื้อนของปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลงในแหล่งน้ำบนผิวดินและใต้ดินได้สร้างผลกระทบต่อคุณภาพของแหล่งน้ำดี มีบทความทางวิทยาศาสต์ที่ได้ติดตามผลกระทบของการรั่วไหลของปุ๋ยเคมีสู่แหล่งน้ำ ซึึ่งพบว่าแร่ธาตุในปุ๋ยเคมีได้ทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของสาหร่ายในแหล่งน้ำหลายๆแห่ง ส่งผลให้เกิดการใช้ออกซิเจนมากจนออกซิเจนพร่องไปอยู่ในระดับที่ถูกจัดเป็นน้ำเสียและมีผลต่อความเป็นอยู่ของสัตว์น้ำ จุดที่น่าเป็นห่วงโดยเฉพาะ คือการพบปริมาณปุ๋ยเคมีในระดับสูงในบริเวณปากแม่น้ำสู่ทะเล ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำที่สำคัญ ดังนั้นหากปัญหานี้ยังคงไม่ได้รับการแก้ไข ไม่เพียงจะก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำดีในอนาคต แต่จะทำให้แหล่งอาหารทางทะเลลดจำนวนลงด้วย

3. สุขภาพอากาศ

มีบทความงานวิจัยจำนวนมาก ที่อธิบายว่าทำไมเกษตรอินทรีย์จึงเป็นหนึ่งในวิธีการลดปริมาณคาร์บอนที่ขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จัดเป็นหนึ่งในแก๊สเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนทีกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของโลกในขณะนี้ บทความเหล่านี้ได้ให้เหตุผลว่าการนำเศษพืชซึ่งมีองค์ประกอบคาร์บอนที่อยู่ภายในโครงสร้างของพืช เมื่อนำไปทำปุ๋ย คาร์บอนส่วนใหญ่จะกลับลงสู่ดินไม่ได้อยู่ในรูปของแก๊สที่ถูกปลดปล่อยไปสู่ชั้นบรรยากาศ นอกจากนี้ กระบวนการผลิตปุ๋ยเคมีจำเป็นต้องมีการใช้พลังงานจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งก็เป็นการเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซดในชั้นบรรยากาศเช่นเดียวกัน

ทำไมผลผลิตอินทรีย์จึงมีราคาสูง

เหตุผลที่ผลิตผลเกษตรอินทรีย์มีราคาสูงเนื่องจาก
  • กระบวนการจัดการของเกษตรอินทรีย์ต้องใช้แรงงานต่อหน่วยสูงกว่าการเกษตรสมัยใหม่
  • การบริหารจัดการมีความซับซ้อนกว่า ทุกปีจะต้องมีการผ่านการตรวจรับรองจากหน่วยงานรับรองการผลิตเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะทำการตรวจเอกสารบันทึกปัจจัยการผลิต และตรวจสอบกระบวนการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานข้อบังคับ
  • จำนวนรอบการปลูกต่อปีน้อยกว่าการเกษตรสมัยใหม่ เนื่องจาก
    • ต้องมีระยะเวลาพักบำรุงดิน พักตากดินก่อนการปลูก
    • การปลูกพืชหมุนเวียน ซึ่งในรอบการปลูกแต่ละปี จะต้องมีการปลูกพืชบำรุงดิน โดยปกติจะใช้ระยะเวลาในการปลูกพืชบำรุงดินอยู่ที่ 2-3 เดือน
    • การเจริญเติบโตของพืชเป็นไปตามอายุปกติ เนื่องจากไม่ได้มีการใช้ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต
_______________________________________________________________________________

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เกษตรอินทรีย์ชีวภาพ

เกษตรอินทรีย์ชีวภาพเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ (Bio-Energetic & Organic Agriculture) เป็นวิธีทำการเกษตรแบบองค์รวมที่ให้ผลมากกว่าเกษตรอินทรีย์ทั่วไป เน้นให้ความสำคัญกับคุณค่าและปริมาณสารอาหาร รสชาติอาหารตามธรรมชาติ และระดับพลังชีวิตของผลผลิต โดยคำนึงถึงประโยชน์ด้านสังคม ทั้งต่อเกษตรกรผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมโดยรวม เป็นวิธีฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินที่มีประสิทธิภาพสูง จึงช่วยให้พืชแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืช ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้เป็นอย่างดี ทำให้ผลผลิตมีสารอาหารตามธรรมชาติครบถ้วนในปริมาณที่สูงขึ้น เพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ ขณะที่ใช้ทรัพยากรในการผลิตน้อยลง

เกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ (Bio-Energetic & Organic Agriculture) เป็นระบบเกษตรกรรมที่รวบรวมผสมผสานภูมิปัญญาวิธีทำการเกษตรของคนยุคโบราณ รวมทั้งหลักการแนวคิดและวิธีการที่เป็นข้อดีของระบบเกษตรกรรมทางเลือกและเกษตรกรรมยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพจากทั่วโลก เข้ากับความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการบริหารจัดการที่เป็นระบบของยุคปัจจุบัน ด้วยความเข้าใจวิถีของธรรมชาติ โดยมองว่าทุกสิ่งในธรรมชาติมีความเกี่ยวโยงเป็นหนึ่งเดียว หัวใจของเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพอยู่ที่การบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกให้เหมือนระบบนิเวศของป่าธรรมชาติ ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์และโครงสร้างของดินด้วยกระบวนการธรรมชาติ เพื่อให้ดินมีคุณภาพดีเหมือนดินในป่าธรรมชาติ จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตทั้งใต้ดินและบนดิน ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและระบบนิเวศตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี มีความแข็งแรง ต้านทานโรคพืชและแมลงศัตรูพืชได้ดี ให้ความสำคัญกับทุกองค์ประกอบของธรรมชาติที่มีผลต่อการเติบโตของพืช ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น เช่น สภาพภูมิอากาศ แรงดึงดูดของโลกและดวงดาวบนท้องฟ้า พลังงานจากธรรมชาติ เช่น จากสนามแม่เหล็กโลก เป็นต้น และพลังที่ผิดธรรมชาติ เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นต้น ซึ่งล้วนมีผลต่อผลผลิตทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณเทคนิควิธีการที่นำมาผสมผสานรวมไว้ในระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ เพื่อการฟื้นฟูบำรุงดินและเพิ่มประสิทธิผลการผลิต รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง แนวทางตามหลักวิธีของระบบเกษตรชีวภาพแบบมีพลวัต (Bio-Dynamic) ระบบชีวภาพเข้มข้น (Bio-Intensive) ระบบเกษตรกรรมเข้มข้นของฝรั่งเศส (French Intensive Farming) และระบบเกษตรกรรมถาวร (Permaculture) ระบบเกษตรธรรมชาติแบบญี่ปุ่น (Japanese Natural Farming) ทั้งตามแบบของคุณลุงมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ และแบบของท่านโมกิจิ โอกาดะ หรือแบบเอ็มโอเอ (MOA) และคิวเซ ตลอดจนระบบเกษตรธรรมชาติแบบเกาหลี (Korean Natural Farming) ของคุณลุงโช รวมทั้งเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยโบราณ และของปราชญ์ชาวบ้านเกษตรกรไทยยุคใหม่ โดยเน้นการจัดการสภาพแวดล้อมของดินให้เหมาะสมกับการดำรงอยู่ของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์กับพืชและระบบนิเวศ ตลอดจนการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในบริเวณที่ทำการเพาะปลูก

       นอกจากนี้ยังรวมเทคโนโลยีชีวภาพอย่างการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อการเกษตร (Vermiculture) และการใช้ถ่านชีวภาพ (BioChar) ซึ่งเป็นผลผลิตของการอบอินทรีย์วัตถุด้วยความร้อนต่ำและอ๊อกซิเจนต่ำ (pyrolisis) ซึ่งทำให้ได้ถ่านชีวภาพที่มีสารประกอบคาร์บอนเหลืออยู่ในเนื้อถ่านสูง ถ่านที่ได้มีโครงสร้างที่เป็นรูพรุน สามารถกักเก็บน้ำได้ดี และเป็นที่อยู่อย่างดีของจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคการเกษตร รวมทั้งยังสามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะคาร์บอนกลับมาเก็บไว้ในดินได้มากกว่าทีปล่อยออกไป (carbon negative technology) และยังรวมถึงการใช้พลังธรรมชาติลักษณะต่างๆ เพื่อเสริมช่วยการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มผลผลิต และรักษาสมดุลของระบบนิเวศของธรรมชาติ เช่น การใช้ประโยชน์จากระดับความอ่อนเข้มของแสงอาทิตย์ การใช้ประโยชน์จากแรงดึงดูดของโลกและดวงจันทร์ช่วยเสริมการเติบโตของพืช การใช้พลังสนามแม่เหล็กและคลื่นพลังชีวิตเพื่อปรับรูปทรงของผลึกน้ำที่ใช้ และการป้องกันพลังด้านลบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีต่อพืช ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเข้าใจหลักการทำงานพื้นฐานของพลังธรรมชาติเหล่านี้แล้ว จะสามารถปรับใช้พลังธรรมชาติเหล่านี้ด้วยเทคนิคต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมกับประเภทของพืชและในทุกสภาพแวดล้อม จึงทำให้ระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพเป็นระบบเกษตรกรรมยั่งยืนแบบองค์รวมที่มีพลวัตสูง ทำให้ผลผลิตมีความปลอดภัยในการบริโภค มีแร่ธาตุสารอาหารและพลังชีวิตที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างครบถ้วน และในปริมาณที่สูงกว่าระบบเกษตรกรรมเคมี รวมทั้งยังเปิดกว้างที่จะเรียนรู้และบูรณาการวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์มาเพิ่มประสิทธิผลของระบบอยู่เสมอ
ดังนั้นความจริงแล้วระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นระบบเกษตรกรรมที่พึ่งพิงกระบวนการทางชีวภาพของธรรมชาติ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนยุคก่อนในการรักษาความยั่งยืนในการผลิตอาหาร ที่สามารถพบได้ในทุกอารยธรรมโบราณทั่วโลก เป็นวิธีการที่ใช้กันมาแล้วเมื่อ 5,000 ปีก่อนในเอธิโอเปีย 4,000 ปีในจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และอินเดีย 2,000 ปีในกรีซ 1,000 ปีในวัฒนธรรมชาวมายา และ 300 ปีในยุโรป เป็นต้น วิธีการเหล่านี้เป็นวิธีการที่ง่าย ตั้งอยู่บนความเข้าใจกระบวนการและสมดุลของธรรมชาติอย่างลึกซึ้งแท้จริง ซึ่งให้ผลผลิตดีแบบยั่งยืน และเป็นระบบจัดการไร่และสวนแบบองค์รวมตามแบบธรรมชาติ ซึ่งทำให้…
  • เป็นระบบการผลิตอาหารที่ครบวงจรอย่างสมบูรณ์ ใช้เพียงแรงคนและเครื่องมือทำสวนอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องพึ่งเครื่องจักรการเกษตรขนาดใหญ่ที่ใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือเทคโนโลยีราคาแพง ไม่มีการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร จึงลดการใช้พลังงานจากฟอสซิลในกระบวนการผลิตลงได้ถึงร้อยละ 95-991ไม่ต้องใช้การวิจัยในห้องทดลองเพื่อปรับเปลี่ยนควบคุมธรรมชาติซึ่งอาจมีผลพวงที่คาดเดาไม่ถึงในภายหลัง ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการผสมเกษรตามธรรมชาติ จึงเป็นระบบเกษตรกรรมที่ทุกคนบนโลกใบนี้สามารถทำได้ และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรรายย่อย
  • ใช้วิธีการปลูกพืชที่หนาแน่นชิดกัน ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง สามารถเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ได้มากกว่าเกษตรเคมีถึง 2-4 เท่าตัว เพราะดินที่มีการจัดการอย่างถูกหลักจะสามารถปลูกพืชต่อพื้นที่ได้มากกว่าถึง 4 เท่า และในระยะยาวจะสามารถให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นเป็น 6-12 เท่า เมื่อมีการจัดการดินจนมีความอุดมสมบูรณ์เหมือนดินในป่าตามธรรมชาติ จึงทำให้ใช้พื้นที่และทรัพยากรน้อยลง โดยสามารถใช้ที่ดินเพียง 80 ตร.ว. ปลูกพืชพอเลี้ยงคน 1 คนได้ตลอดปีในระบบปิดที่ไม่ต้องพึ่งพิงทรัพยากรจากภายนอกเลย2
  • ใช้การขุดพรวนดินลึกเป็นสองเท่าของเกษตรเคมี เพื่อร่นระยะเวลาการพัฒนาดินให้เร็วกว่ากระบวนการธรรมชาติ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการเพาะปลูกพืช มีระบบการปลูกพืชเพื่อใช้ทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง และในระยะแรกใส่เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ในดินเพียงเล็กน้อยเพื่อปรับสมดุลของสารอาหารพืชในดิน ในระยะต่อๆ ไปสามารถลดการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ได้ถึงร้อยละ 50-100 ลดวัชพืชลงได้กว่าร้อยละ 50 และใช้น้ำเพียงร้อยละ 12-33 ของการทำเกษตรแบบเคมี3 ทำให้สามารถลดการพึ่งพิงทรัพยากรจากภายนอกได้โดยสิ้นเชิง
  • การปลูกพืชแน่นชิดกันสามารถช่วยรักษาความชื้นในดินได้ดี โดยปกติพืชที่ปลูกในดินอุดมที่มีสารอินทรีย์สูง จะทนแล้งและทนน้ำท่วมได้ดีกว่าพืชที่ปลูกแบบเกษตรเคมี จึงสามารถลดการพึ่งพิงน้ำซึ่งจะขาดแคลนมากยิ่งขึ้นในฤดูแล้ง และทนต่อภัยน้ำท่วมที่จะเกิดมากขึ้นในฤดูฝน ซึ่งเป็นผลจากสภาพภูมิอากาศแปรปรวนเพราะภาวะโลกร้อนได้ดีกว่าพืชที่ปลูกด้วยระบบเกษตรกรรมแบบอื่น
  • สามารถปรับเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินได้เร็วกว่ากระบวนการธรรมชาติถึง 60 เท่า4 สามารถเพิ่มหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ได้ถึง 20 กิโลกรัมต่อทุก 1 กิโลกรัมของอาหารที่เรารับประทาน จึงลดเวลาการปรับเปลี่ยนสภาพดินเสื่อม ดินเสีย และดินตายจากการทำเกษตรเคมี ให้สามารถให้ผลผลิตเทียบเคียงกับเกษตรเคมีจาก 3-7 ปีเหลือเพียง 1-2 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของดินก่อนเริ่มการปรับเปลี่ยน
  • ผลผลิตมีปริมาณแร่ธาตุสารอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้นกว่าผลผลิตจากเกษตรเคมี สารอาหารบางชนิดสูงกว่าเป็นร้อยหรือเป็นพันเท่าตัว5 และเปี่ยมด้วยพลังชีวิตที่แข็งแรงสมบูรณ์ จึงสามารถลดปัญหาด้านสุขภาพของทั้งเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยลดงบประมาณด้านการดูแลสุขภาพของประเทศลงได้อย่างมาก
  • ลดปัญหาการบุกรุกทำลายป่าเพื่อขยายที่ทำกิน เพราะความต้องการใช้พื้นที่เพื่อการเพาะปลูกลดลง ทำให้มีป่าเหลือและมีที่ดินเพื่อปลูกป่าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและรายได้เสริมของชุมชน รวมทั้งมีต้นไม้ใหญ่ในป่ามากขึ้นเพื่อดูดซับก๊าซ CO2 ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน และเพิ่มก๊าซ O2 ให้กับโลกได้
  • เพิ่มความสามารถในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกของดิน เพราะดินที่อุดมสมบูรณ์จากการทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจะเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์มีประโยชน์จำนวนมหาศาล จุลินทรีย์เหล่านี้นอกจากจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่างๆ จากดิน ทั้ง คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (CO2) ไนไตรท์ออกไซด์ (N2O) และ มีเทน (CH4) แล้ว ยังช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้กลับมาเก็บไว้ในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ประมาณว่าดินที่มีอยู่ทั่วโลกสามารถดูดคาร์บอนจากอากาศได้ถึง 1,000 ล้านตันต่อปี6
  • เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้สิ่งแวดล้อม
ระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจึงเป็นวิธีทำการเกษตรยั่งยืนแบบองค์รวมที่ครบวงจรในตัวเอง ซึ่งหากทำแบบเต็มรูปไประยะเวลาหนึ่งแล้วจะสามารถเป็นระบบปิดที่ไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกเลย และนอกจากจะลดต้นทุนการผลิตต่อพื้นที่ลงแล้ว ยังเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้อย่างยั่งยืน สามารถสร้างเสริมสุขภาพของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ตลอดจนทำให้ประเทศมีหลักประกันความมั่นคงและยั่งยืนด้านอาหาร จึงสามารถเป็นต้นแบบของคำตอบและให้ทางออกสำหรับปัญหาทั้งหมดของเกษตรกรไทย และเกษตรกรรายย่อยในโลกได้ อีกทั้งยังอาจเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่มนุษย์เรามีอยู่ในขณะนี้ สำหรับต่อสู่กับปัญหาและผลพวงทั้งหลายของวิกฤตภาวะโลกร้อนที่โลกกำลังเผชิญอยู่ รวมทั้งยังเป็นวิธีการทำเกษตรที่สร้างความยั่งยืนให้กับระบบนิเวศธรรมชาติ เป็นประโยชน์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อเนื่องต่างๆ ตามมาอย่างมหาศาลอีกด้วย
ที่มา : ศูนย์การเรียนรู้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงนวชีวัน
www.จีพีเอสวัดที่.com

_______________________________________________________________________________

วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สวนผักในบ้าน' ทั้งประหยัด-ปลอดภัย

สวนผักในบ้าน' ทั้งประหยัด-ปลอดภัย



    ก่อนที่ คนไทยจะหันมาให้ความสนใจกับทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ช่วงหนึ่งรัฐบาลเคยมีโครงการรณรงค์ผักสวนครัวรั้วกินได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปนอกจากจะไม่มีผักริมรั้วแล้ว ลัทธิบริโภคนิยมที่มีความสะดวกสบายนำหน้า ดูเหมือนจะทำให้ครัวของหลายบ้านมีไมโครเวฟเป็นอุปกรณ์หลักเพื่อใช้ในการอุ่น อาหารเท่านั้น    


          แต่ ใช่ว่าเรื่องการปลูกผักสวนครัวไว้ในเขตเคหสถานจะจบลง เพราะขณะที่ใครต่อใครต่างพากันซื้อผักจากตลาดบ้าง รถเร่บ้าง หรือซูเปอร์มาร์เกตบ้าง คนบางกลุ่มกลับมีวิถีชีวิตที่แตกต่างออกไป 
          พวก เขามีความสุขกับการค่อยๆ หว่านเมล็ดพันธุ์ลงในดินที่ถูกปรับให้เป็นแปลงผักในรั้วบ้าน เฝ้าดูต้นกล้าที่กำลังเติบโตอยู่ในภาชนะที่ไม่ใช่กระถางต้นไม้ เพราะมีทั้งถังแตกที่ไม่สามารถใช้บรรจุน้ำได้แล้ว ตะกร้าที่เคยใช้ใส่เส้นขนมจีนมาส่งขายที่ตลาด ไปจนถึงยางนอกรถยนต์หมดอายุการใช้งานที่ถูกปาดด้านหนึ่งออก 
  
           “แต่ก่อนผมก็ไม่เคยปลูกต้นไม้ พอมาเรียนที่คณะเกษตรกรรมยั่งยืน ม.ธรรมศาสตร์ และได้ไปฝึกงานที่ออสเตรีย ประเทศทำการเกษตรแบบดั้งเดิมคือเกษตรอินทรีย์ถึงร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นประเทศที่มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์มากที่สุดในยุโรป จึงทำให้เกิดแรงบันดาลใจให้กลับมาปลูกผักสวนครัวในบ้านบ้าง” นคร ลิมปคุปตถาวร หนึ่งในสมาชิกเครือข่ายตลาดสีเขียว บอกเล่า  



แรง บันดาลใจที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น ทำให้เขากลับมาเปลี่ยนแปลงพื้นที่สวนด้านหนึ่งของบ้านให้เป็นแปลงปลูกผักสวน ครัว ซึ่งกว่าจะกลายเป็นสวนครัวอย่างที่เปิดให้ผู้ที่สนใจเยี่ยมชมอย่างทุกวันนี้ ต้องผ่านการเรียนรู้มากมาย ตั้งแต่เรื่องสภาพของดินที่เหมาะสมกับพืชผักสวนครัว ปริมาณน้ำ และที่สำคัญคือการคัดเลือกชนิดพันธุ์ที่จะนำมาปลูก 


           “การปลูกผักสวนครัวต้องถามใจตัวเองก่อนว่าอยากกินอะไร เราพร้อมที่จะกินผักบุ้ง 5 วันหรือ 10 วันติดต่อกันได้หรือไม่ และ เรามีความคิดใหม่ๆ ในการทำกับข้าวบ้างไหม” เจ้าของสวนครัวขนาดย่อมในบ้านย่านลาดพร้าวที่เพียงพอเลี้ยงคนในบ้านในระดับ หนึ่งให้คำแนะนำ  
          นอกจากนี้การปลูกผักสวนครัวไว้ภายในบ้านนั้น ไม่ใช่แค่การออกไปร้านจำหน่ายต้นไม้แล้วซื้อดินแบบ 6 ถุง 100 บาทมาใส่กระถางหรือภาชนะง่ายๆ ก็ปลูกได้ทันที เพราะดินเหล่านั้นเหมาะสำหรับการปลูกไม้ดอกไม้ประดับมากกว่า ขณะที่ผักสวนครัวต้องการความร่วนซุยของดิน ให้ดินมีช่องว่างสำหรับอากาศถ่ายเท และที่สำคัญที่สุดคือธาตุอาหารที่อยู่ในดิน   



 
           ปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ และดินชีวภาพที่ผ่านการหมักจนได้ที่ เป็นสภาพดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกผักสวนครัวมากกว่า เพราะหากใช้ปุ๋ยเคมีผักสวนครัวที่ปลูกเองในรั้วบ้าน ก็คงไม่ต่างจากผักที่ปลูกเพื่อการพาณิชย์จำนวนมากๆ



“การ ปลูกผักในบ้านจะมีปัญหาเรื่องพื้นที่ โดยเฉพาะทาวน์เฮาส์หรือคอนโดมิเนียม แต่ทาวน์เฮาส์บางแห่งก็สามารถปลูกต้นไม้ได้เยอะกว่าบ้านเดี่ยวด้วยซ้ำ หากเปลี่ยนมาเป็นปลูกผักสวนครัวแทนนอกจากจะได้สีเขียวเหมือนกันแล้วยัง สามารถนำมาบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงในการบริโภคสารเคมีได้ด้วย"

ดร.วิชัย จันทร์กิติวัฒน์ ตัวแทนกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ระบุ  



          ขณะที่ชาวตะวันตกเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษ คนไทยกลับหลงใหลได้ปลื้มกับอาหารขยะที่เรียกกันว่า “จังก์ฟู้ด” ซึ่งล้วนแต่เป็นอาหารที่นำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บมากมาย จนหลงลืมรากเหง้าแห่งวิถีไทยที่เคยมีมา


ที่มา:หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
www.จีพีเอสวัดที่.com
_______________________________________________________________________________

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การบริหารความเสี่ยงด้านการเกษตรก่อนการผลิตรอบใหม

การบริหารความเสี่ยงด้านการเกษตรก่อนการผลิตรอบใหม่ 

    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กําชับให้ทุกหน่วยกํากับดูแลการผลิตของเกษตรกรในช่วง
เริ่มต้นรอบใหม่  เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงปัจจัยการผลิต  เมล็ดพันธุ์พืช  ที่มีคุณภาพมาตรฐาน  มีการจัดการดินและนํ้าให้เหมาะสมกับความต้องการของพืช  มีระบบป้องกันโรคแมลงศัตรู  และวางระบบให้เหมาะสมกับตลาด  ซึ่งจะทําให้ต้นทุนการผลิตมีประสิทธิภาพ  ผลผลิตมีคุณภาพส่งผ่านความปลอดภัยด้านอาหารสู่ผู้บริโภค  และมีผลตอบแทนสุทธิเหมาะสม

จากวันพระราชพิธีพืชมงคล  และพระราชพิธีจรด
พระนังคัลแรกนาขวัญซึ่งเกษตรกรไทยถือว่าเป็นวันเริ่มต้นฤดูกาลของเกษตรกรรม  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเน้นยํ้า  กําชับทุกส่วนราชการในสังกัดเตรียมข้อมูลเข้าพื้นที่พบ
ประหารือร่วมกับเกษตรกร  เพื่อร่วมวางแผนและจัดระบบการผลิตให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและตลาดเตรียมปัจจัยการผลิต  เช่น  เมล็ด
พันธุ์พืช  พันธุ์สัตว์  ที่มีคุณภาพมาตรฐาน  มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ได้รับการอนุญาตจากส่วนราชการและใช้ในปริมาณและเวลาที่เหมาะสม  อีกทั้งมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร  กํากับดูแล  การผลิตและ จําหน่ายสารเคมีทางการเกษตร  พันธุ์พืชให้อยู่ในกรอบของกฎหมายโดยเคร่งครัด  รวมทั้งหมอบหมายให้กรมการข้าวกํากับดูแลการผลิตและจําหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว  การรับรองพันธุ์ข้าว  การผลิตข้าวให้มีคุณภาพมาตรฐานตรงตามสายพันธุ์โดยการเตรียมดินและใช้เมล็ดพันธุ์ในปริมาณที่เหมาะสม


และ การสร้างองค์ความรู้ให้เกษตรกรมีระบบควบคุมคุณภาพการผลิตของผู้รับจ้างทํานาด้านต่างๆ  อีกทั้งหมอบหมายกรมส่งเสริมสหกรณ์ให้กํากับดูแลสหกรณ์การเกษตรที่ผลิตและจําหน่ายปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรสมาชิก  และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร
ติดตามเฝ้าระวังดูแลความปลอดภัยด้านอาหารให้เกษตรกรดําเนินการผลิตที่ดีเพื่อถ่ายทอดคุณภาพและมาตรฐานสู่ผู้บริโภคตลอดห่วงโซ่การผลิต

พร้อมทั้งเปิดสายด่วน  ๑๑๗๐ รับแจ้งเบาะแสการผลิตและจําหน่าย
ปัจจัยการผลิตที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย  นอกจากนั้นยังมอบหมายให้กรมชลประทานวางแผนการบริหารจัดการ
นํ้าในเขตพื้นที่ชลประทานให้เพียงพอต่อเกษตรกรรม  สร้างการรับรู้และทําความเข้าใจร่วมกับเกษตรการในการ
วางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับปริมาณนํ้าในตลอกลุ่มนํÊาอย่างทั่วถึง
    สําหรับด้านการปศุสัตว์และการประมงได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์และการประมง  ติดตาม
เฝ้าระวังโรคโดยจัดทําแผนเก็บตัวอย่างและตรวจวิเคราะห์เพื่อเป็นข้อมูลการประเมินระดับความเสี่ยงตลอดจน
เตรียมแผนและซ้อมแผนการบริหารจัดการควบคุม  กําจัดโรค
    อันเป็นการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐสู่การเป็น  Smart Officer  ที่ซึ่งเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะต้องเป็นเพืÉอนคู่คิดของเกษตรกร  ร่วมเตรียมความพร้อม  ใช้องค์ความรู้ในการวางแผนการตลาดและการผลิตในสินค้าในเกษตรที่แตกต่างกันในแต่ละชนิด  แต่ละภูมิสังคม  แต่ละช่วงเวลา  โดยเจ้าหน้าที่ในระดับหมู่บ้าน  ตําบล  อําเภอ  จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเกษตรกร  ให้ข้อมู ลทางวิทยาศาสตร์ในการประเมินความเสี่ยงต่างที่เกิดขึ้นเพื่อให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการ
ตัดสินใจทางการตลาดและหรับเพิ่มผลิตภาพการผลิตของตนเองแต่ละรายที่จะนําไปสู่การบริหารความเสี่ยงภายในฟาร์มให้ลดเหลือน้อยที่สุด
    ทั้งนี้เกษตรกรที่จะเริ่มลงมือเพาะปลูก  หรือเลี้ยงสัตว์  จะต้องติดตามข้อมูลข่าวสาร  หาความรู้
ทางการตลาด  เช่น  ราคาสินค้าเกษตรในอนาคตที่ผลผลิตจะออกสู่ตลาด  หาซื้อปัจจัยผลิตจากผู้ผลิตผู้จําหน่ายที่ได้รับการรับรองหรือจากร้านที่มีสัญลักษณ์  Q  Shop ที่มีทะเบียนอนุญาตและการรับรองสินค้าที่ฉลาก  รวมทั้งใช้สารเคมีทางการเกษตรในปริมาณทีÉเหมาะสมกับความต้องการของพืช  ทั้งนี้สามารถปรึกษาหารือกับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่ที่ท่านอาศัยอยู่

www.จีพีเอสวัดที่.com
_______________________________________________________________________________

น้ำส้มควันไม้

                                                      น้ำส้มควันไม้

น้ำส้มควันไม้

        น้ำส้มควันไม้ ควันที่เกิดจากการเผาถ่าน   ในช่วงที่ไม้กำลังเปลี่ยนเป็นถ่าน เมื่อทำให้เย็นลงจนควบแน่นแล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ  ของเหลวที่ได้นี้ได้เรียก  น้ำส้มควันไม้ ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดอะซิติกมีความเป็นกรดต่ำมีสีน้ำตาลแดง  นำน้ำส้มควันไม้ที่ได้ทิ้งไว้ในภาชนะพลาสติกประมาณ  3  เดือน   เก็บไว้ในที่ร่มมาสั่นสะเทือน เพื่อให้นำส้มควันไม้ที่ได้ตกตะกอนและแยกตัวเป็น 3 ชั้น คือ  น้ำมันเบา  น้ำส้มไม้  และน้ำมันทาร์ จากนั้นแยกน้ำส้มไม้มาใช้ประโยชน์ต่อไป
                                                
      น้ำส้มควันไม้ผลพลอยได้จากการเผาถ่าน
        เตาเผาถ่าน 200 ลิตร  เป็นเตาที่มีประสิทธิภาพสูง  เตาประเภทนี้อาศัยความร้อนไล่ความชื้นในเนื้อไม้ที่มีอยู่ในเตา ทำให้ไม้กลายเป็นถ่าน  หรือเรียกว่ากระบวนการคาร์บอนไนเซชั่น  ผลผลิตที่ได้จึงเป็นถ่านที่มีคุณภาพ ขี้เถ้าน้อยและผลพลอยได้จากการเผาถ่านคือ น้ำส้มควันไม้
ขั้นตอนการเผา
ช่วงที่ 1 ไล่ความชื้นหรือคลายความร้อน
เริ่มจุดไฟเตา บริเวณที่อยู่หน้าเตา ใส่เชื้อเพลิงให้ความร้อนกระจายเข้าสู่เตาเพื่อไล่อากาศเย็นและความชื้นที่อยู่ในเตาและในเนื้อไม้ควันที่ออกมาจากปล่องควันจะมีสีขาว ควันจะมีกลิ่นเหม็นซึ่งเป็นกลิ่นของกรดประเภทเมธานนอลที่อยู่ในเนื้อไม้  อุณหภูมิปากปล่องควันประมาณ 70 – 75 องศาเซลเซียส อุณหภูมิในเตาประมาณ 150 องศาเซลเซียส ใส่เชื้อเพลิงต่อไป ควันสีขาวตรงปล่องควันจะเพิ่มขึ้น อุณหภูมิในเตาประมาณ 20 – 25 องศาเซลเซียส ควันมีกลิ่นเหม็นฉุน
ช่วงที่ 2 เมื่อไม้กลายเป็นถ่าน หรือปฏิกิริยาคลายความร้อน
   เมื่อเผาไปอีกระยะหนึ่ง  ควันสีขาวจะเริ่มบางลงและเปลี่ยนเป็นสีเทาอุณหภูมิบริเวณปากปล่องควัน ประมาณ 80 – 85 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 300 – 400 องศาเซลเซียส ไม้ที่อยู่ในเตาจะคลายความร้อนที่สะสมเอาไว้เพียงพอที่จะทำให้อุณหภูมิในเตาเพิ่มสูงขึ้น  ในช่วงนี้ค่อยๆ ลดการป้อนเชื้อเพลิงลงจนหยุดป้อนเชื้อและเริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้  หลังจากหยุดการป้อนเชื้อเพลิงหน้าเตา  จะต้องควบคุมอากาศ โดยการหรี่หน้าเตา  หรือลดพื้นที่หน้าเตาลงให้เหลือช่องพื้นที่หน้าเตาประมาณ 20 – 30 ตารางเซนติเมตร สำหรับให้อากาศเข้า  เพื่อรักษาระดับของอุณหภูมิในเตาไว้ให้นานที่สุด   ช่วงที่เหมาะสมกับการเก็บน้ำส้มควันไม้ควรมีอุณหภูมิบริเวณปากปล่องคันประมาณ 85 – 120 องศาเซลเซียส   เนื่องจากเป็นช่วงสารในเนื้อไม้ถูกขับออกมาจากนั้นควันก็เปลี่ยนจากสีเทาเป็นสีน้ำเงิน  จึงหยุดเก็บน้ำส้มควันไม้อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควันประมาณ 100 – 200 องศาเซลเซียส อุณหภูมิในเตาประมาณ 400 – 450 องศาเซลเซียส


ช่วงที่ 3 ช่วงทำถ่านให้บริสุทธิ์

   ขั้นตอนนี้เป็นช่วงที่ไม้จะเปลี่ยนเป็นถ่าน  ต้องทำการเพิ่มอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว  โดยการเปิดหน้าเตา ประมาณ1 ใน 3 ของหน้าเตาทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที  เมื่อควันสีน้ำเงินเป็นสีฟ้าแสดงว่าไม้เริ่มเป็นถ่านใกล้หมด จากนั้นควันสีฟ้าอ่อนลงและจะกลายเป็นควันใสแทนเมื่อมีควันใสเริ่มทำการปิดหน้าเตา โดยใช้ดินเหนียวปิดรอยรั่วจากนั้นทำการปิดปล่องควันให้สนิทและอุดรูรั่วทั้งหมด  ไม่ให้อากาศภายนอกผ่านเข้าได้


ช่วงที่ 4 ช่วงการทำให้ถ่านในเตาเย็นลง
   เกลี่ยดินบนเตาออกให้เห็นหลังเตาเพื่อระบายความร้อนในเตา  จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน  หรือประมาณ 8 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย  เพื่อให้ถ่านดับสนิทแล้วจึงเริ่มการเปิดเตา  เพื่อนำถ่านออกจากเตาและนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป



ผลผลิตที่ได้จากการเผาถ่านไม้เงาะ 100 กิโลกรัม
   - น้ำส้มควันไม้      8   ลิตร
   - ถ่าน         25   กิโลกรัม


อัตราส่วน
น้ำส้มควันไม้: น้ำ   การใช้ประโยชน์
1 : 20 - พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นประโยชน์และแมลงในดิน   ซึ่งควรทำก่อนการเพาะปลูก 10 วัน



1 : 50 - พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช หากใช้ความเข้มข้นที่มากกว่านี้  รากพืชจะได้รับอันตราย


1 : 100 - ราดโคนต้นไม้รักษาโรครา  และโรคเน่ารวมทั้งป้องกันแมลงมาวางไข่


1 : 200 - พ่นใบไม้รวมทั้งพื้นดินรอบๆต้นพืชทุก ๆ 7-15 วันเพื่อขับไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา และรดโคนต้นไม้เพื่อเร่งการเจริญเติบโต


1 : 500 - พ่นผลอ่อนหลังจากติดผลแล้ว 15 วัน ช่วยขยายผลให้โตขึ้นและพ่นอีกครั้งก่อนเก็บเกี่ยว 20 วัน เพื่อเพิ่มน้ำตาลในผลไม้


1 : 1,000   - พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นประโยชน์และแมลงในดิน   ซึ่งควรทำก่อนการเพาะปลูก 10 วัน
- พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช หากใช้ความเข้มข้นที่มากกว่านี้  รากพืชจะได้รับอันตราย
- ราดโคนต้นไม้รักษาโรครา  และโรคเน่ารวมทั้งป้องกันแมลงมาวางไข่
- พ่นใบไม้รวมทั้งพื้นดินรอบๆต้นพืชทุก ๆ 7-15 วันเพื่อขับไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา และรดโคนต้นไม้เพื่อเร่งการเจริญเติบโต
พ่นผลอ่อนหลังจากติดผลแล้ว 15 วัน ช่วยขยายผลให้โตขึ้นและพ่นอีกครั้งก่อนเก็บเกี่ยว 20 วัน เพื่อเพิ่มน้ำตาลในผลไม้
เป็นสารจับใบ  เนื่องจากสารเคมีสามารถออกฤทธิ์ได้ดีในสารละลายที่เป็นกรดอ่อนๆ ช่วยเสริมประสิทธิภาพสารเคมีทำให้สามารถลดการใช้สารเคมีมากกว่าครึ่งด้วย



ข้อควรระวังในการใช้น้ำส้มควันไม้
   1.  ก่อนนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ ต้องทิ้งไว้จากการเก็บก่อนอย่างน้อย 3 เดือน
   2.  เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง  ควรระวังอย่าให้เข้าตา อาจทำให้ตาบอดได้
   3.  น้ำส้มควันไม้ไม่ใช่ปุ๋ย แต่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ดังนั้นการนำไปใช้ทางการเกษตรจะเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพให้กับพืช แต่ไม่สามารถใช้แทนปุ๋ยได้
   4.  การใช้เพื่อฆ่าจุลินทรีย์และแมลงในดินที่เป็นโทษควรทำก่อนเพาะปลูกอย่างน้อย 10 วัน
   5.  การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องผสมน้ำให้เจือจางตามความเหมาะสมที่จะนำไปใช้
   6.  การฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้เพื่อให้ดอกติดผล   ควรพ่นก่อนที่ดอกจะบานหากฉีดพ่นหลังจากดอกบานแมลงจะไม่เข้ามาผสมเกสรเพราะมีกลิ่นฉุนของน้ำส้มควันไม้ และดอกจะหลุดร่วงง่าย  www.จีพีเอสวัดที่.com


_______________________________________________________________________________