วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

มาตราวัดพื้นที่งานสำรวจ

                                   
           มาตราวัดพื้นที่
                                    100 ตารางวา = 1 งาน
                                    4 งาน = 1 ไร่
                                    4 งาน = 400 ตารางวา
                                    400 ตารางวา = 1600 ตารางเมตร = 1 ตารางเส้น
            มาตราวัดระยะ
                                    1 เมตร            =    2 ศอก  หรือเท่ากับ 3.3208 ฟุต( 1.0936 หลา )
                                    1 กิโลเมตร       =    25 เส้น ( 1000 เมตร ) หรือเท่ากับ 0.6214 ไมล์
                                    1 ไมล์            =     40 เส้น หรือเท่ากับ 1.6093 กิโลเมตร
                                    1 ไมล์            =     1760 หลา
                                    1 หลา            =     3 ฟุต หรือเท่ากับ 0.9194 เมตร
                                    1 เส้น            =      40 เมตร
                                    25 เส้น            =     1 กิโลเมตร ( 1000 เมตร )
                                    40 เส้น            =    1 ไมล์ ( 1.6 กิโลเมตร )
                                    1 เซนติเมตร      =    0.394 นิ้ว
                                    1 นิ้ว                =    2.54 เซนติเมตร
                                    1 มิลลิเมตร       =    0.0394 นิ้ว
                                    1 ฟุต               =    0.3048 เมตร
            มาตราวัดน้ำหนัก  
                                    1 กรัม            =    15.432  เกรน                            1 เกรน            =    0.0648  กรัม
                                    1 กรัม            =    0.0353  ออนซ์                          1 ออนซ์          =    28.35    กรัม
                                    1 กิโลกรัม      =    2.2046  ปอนด์                           1 ปอนด์          =    0.4536  กิโลกรัม   
                                    1000 กิโลกรัม    = 0.9842  ตัน                               1 ตัน              =    1016     กิโลกรัม
            ปริมาตรและอื่นๆ
                                    1 กก./ ตร.ซม.        =    14.22    ปอนด์/ตร.นิ้ว        1 ตร.ซม.           =    0.155    ตร.นิ้ว
                                    1 เมตร/วินาที         =    3.281    ฟุต/วินาที             1 ลบ.ซม.          =    0.0610   ลบ.นิ้ว
                                    1 เมตร-กิโลกรัม      =    7.233    ฟุต-ปอนด์            1 ปอนด์/ตร.นิ้ว    =   0.0703    กก./ตร.ซม.
                                    1 ฟุต/วินาที            =    0.3048  เมตร/วินาที          1 ฟุต-ปอนด์        =   0.1383    เมตร-กิโลกรัม             
           สูตรการหารพื้นที่สี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยม
                                    พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้า    =    ฐาน x สูง
                                    พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน    =    ฐาน x ส่วนที่ตั้งฉาก
                                    พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก    =    เศษ1ส่วน2 x ฐาน x สูง
                                    พื้นที่ของสี่เหลี่ยมคางหมู        =    เศษ1ส่วน2 x สูง x ( ยาว1 + ยาว2 )
                                    ปริมาตรของแท่งสี่เหลี่ยมพื้นผ้า    =    กว้าง x ยาว x สูง

       
           
      ตัวอย่าง1   วัดพื้นที่ของ ของรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้า โดยการวัดระยะด้วยโซ่สำรวจ ได้พื้นที่ทั้งหมด 5,9803  ตารางเส้น
                            จงแปลงหน่วยต่อไปนี้ให้เป็น ไร่ งาน และ ตารางวา
                           = 5 ไร่ กับอีก 0.9803 ไร่
                            ทำ 0.9803 ไร่ให้เป็นงาน = 0.9803 x 4 = 3.9212 งาน
                            3 งาน กับ อีก 0.9212 งาน
                            ทำ 0.9212 งานให้เป็นตารางวา = 0.9212 x 100 = 92.12 ตารางวา
                            = 5 ไร่ 3 งาน 92.12 ตารางวา
                           
       ตัวอย่าง2    วัดพื้นที่ของ ของรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้า โดยการวัดระยะด้วยตลับเมตร ได้พื้นที่ทั้งหมด 2014  ตารางเมตร
                             จงแปลงหน่วยต่อไปนี้ให้เป็น ไร่ งาน และ ตารางวา
                            = 2014 หาร 1600 = 1,25875 ไร่
                            1 ไร่กับอีก 0,25875 ไร่
                            0,25875 x 4 = 1,035 งาน
                            1 งาน x 100 = 3.5 ตารางวา
                            = 1 ไร่ 1 งาน 3.5 ตารางวา

      ตัวอย่าง3    อาวุธปืนสั้นหนัก 17.1 ออนซ์ ระยะยิง 25 หลา กลุ่มกระสุนต้องได้ไม่เกิน 4.5 นิ้ว
                            จงแปลงหน่วยต่อไปนี้ให้เป็น กรัม และ เมตร ซึ่งเป็นมาตราวัดที่นิยมใช้กัน ของประเทศไทย
                        ( จากมาตราวัดน้ำหนักข้างบน 1 ออนซ์ = 28.35 กรัม และมาตราวัดระยะ 1 หลา = 0.9194 เมตร )
                          
                        = น้ำหนักอาวุธปืนสั้น 17.1 ออนซ์ x 28.35 กรัม = 484.785 
                        = ระยะยิง 25 หลา x 0.9194 เมตร = 22.985 เมตร
                        = น้ำหนักปืนสั้นหนัก 484.785 กรัม ระยะยิง 22.985 เมตร 

               

เครื่องวัดพื้นที่ เบสท์ เทค  www.areadigit.com

วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เกษตรผสมผสาน

เกษตรผสมผสาน 

ระบบเกษตรที่มีการปลูกพืชและมีการเลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน โดยที่กิจกรรมการผลิตแต่ละ ชนิด เกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นาอย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และเกิดการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ การเกื้อกูลกันระหว่างพืชและสัตว์ เศษซากและผลพลอยได้จากการปลูกพืชจะเป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ ในทางตรงกันข้าม ผลที่ได้จากการเลี้ยงสัตว์ก็จะเป็นประโยชน์ต่อพืชด้วยเช่นกัน (1)
หลักการของ "เกษตรผสมผสาน" (2)
หลักการพื้นฐานของระบบเกษตรกรรมแบบผสมผสานมีอยู่อย่างน้อย 2 ประการสำคัญๆ คือ
1) ต้องมีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมเป็นต้นไป โดยการทำการเกษตรทั้งสองกิจกรรมนั้น ต้องทำในพื้นที่และระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งกิจกรรมเหล่านั้นควรประกอบไปด้วยการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ และสามารถผสมผสานระหว่างการปลูกพืชต่างชนิด หรือการเลี้ยงสัตว์ต่างชนิดกันได้
2) การเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมเกษตรต่างๆ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในระบบเกษตรแบบผสมผสานนั้น เกิดขึ้นทั้งจากวงจรการใช้แร่ธาตุอาหารรวมทั้งอากาศ และพลังงาน เช่น การหมุนเวียนใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์ให้เป็นประโยชน์กับพืช และให้เศษพืชเป็นอาหารสัตว์ โดยที่กระบวนการใช้ประโยชน์จะเป็นไปทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น ผ่านการหมักของจุลินทรีย์เสียก่อน
ทั้งนี้ ลักษณะการผสมผสานในระบบเกษตร สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
การปลูกพืชแบบผสมผสาน
เป็นการอาศัยหลักการความสัมพันธ์ระหว่างพืช สิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศตามธรรมชาติมาจัดการและปรับใช้ในระบบการเกษตร ตัวอย่างเช่น การปลูกตาลโตนดในนาข้าว การปลูกพริกไทยร่วมกับมะพร้าว การปลูกพืชไร่ผสมกับถั่ว การปลูกทุเรียนร่วมกับสะตอ การปลูกระกำในสวนยาง เป็นต้น โดยที่ยิ่งมีความหลากหลายของพืชปลูกมากเท่าใด ก็จะสามารถเพิ่มเสถียรภาพให้กับระบบมากขึ้นเท่านั้น
การผสมผสานการเลี้ยงสัตว์
หลักการผสมผสานเป็นไปเช่นเดียวกับการผสมผสานระหว่างพืช เนื่องจากสัตว์ชนิดหนึ่งจะมีความสัมพันธ์กับสัตว์อีกชนิดหนึ่งและเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น พืช และจุลินทรีย์ ตัวอย่างของระบบการผสมผสานการเลี้ยงสัตว์ เช่น การเลี้ยงหมูควบคู่กับปลา การเลี้ยงเป็ดหรือไก่ร่วมกับปลา การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การผสมผสานการเลี้ยงสัตว์เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถสร้างระบบที่สมบูรณ์ ได้เหมือนกับการผสมผสานการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์
กาปลูกพืชผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์
เป็นรูปแบบการเกษตรที่สอดคล้องกับสมดุลของแร่ธาตุพลังงาน และมีการเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมการผลิตต่างๆ มากขึ้น ใกล้เคียงกับระบบนิเวศตามธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างของระบบการปลูกพืชผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์ เช่น การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงเป็ดในนาข้าว การเลี้ยงหมูและปลูกผัก การเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชไร่ เป็นต้น
เกษตรกรต้นแบบของเกษตรผสมผสาน (3)
เกษตรกรต้นแบบของเกษตรผสมผสาน คือ "พ่อมหาอยู่ สุนทรชัย" แห่งบ้านตระแบก ต.สลัดได อ.เมือง จ.สุรินทร์ ท่านนำประสบการณ์การทำเกษตรแบบยกร่องในภาคกลางเข้ามาปรับใช้ มีการจัดการแหล่งน้ำที่ชาญฉลาด ผสมผสานกิจกรรมการปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ให้หลากหลาย อีกทั้งมีการจัดการผลผลิตการเกษตรที่คำนึงถึงสถานการณ์การตลาดที่ดี ประสบการณ์ของท่านสร้างแรงบันดาลใจให้เกษตรกรทั่วประเทศ เปลี่ยนแปลงการทำเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวมาเป็นเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
บนพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด นอกจากที่นาปลูกข้าว บนพื้นที่ทำกินของพ่อมหาอยู่ประมาณ 60 ไร่ จะมีการทำเกษตรแบบผสมผสานอย่างประณีต โดยการขุดสระเก็บน้ำและร่องน้ำใช้เลี้ยงปลาและเป็นแหล่งน้ำสำรอง อีกมุมใช้เป็นคอกไว้สำหรับเลี้ยงหมู ซึ่งมูลหมูจะไหลลงไปสู่บ่อปลา พื้นที่ตามคันดินโดยรอบจะปลูกพืชผักสวนครัวและไม่ยืนต้นเป็นร่มเงาให้กับปลา นอกจากนี้ยังสามารถลอกขี้เลนจากบ่อปลาขึ้นมากระจายอยู่ในพื้นที่รอบๆ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์


www.จีพีเอสวัดที่.com
-------------------------------------------------------------------------------